ในสภาวะราคาสุกรปัจจุบัน การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในฟาร์มสูงที่สุดเป็นเป้าหมายหลักของที่ฟาร์มที่จะอยู่รอดในสภาวะปัจจุบัน โดยในวันนี้จะขอนำเสนอวิธีการลดต้นทุนค่าอาหารในฟาร์มด้วยวิธีการ “ การวัด backfat “ การวัด backfat หรือ ไขมันสันหลังสุกร สามารถทำได้โดยวัดที่ตำแหน่ง P2 (ตำแหน่งซี่โครงซี่สุดท้าย วัดจากแกนกลางลำตัวออกมา 6-8 เซนติเมตร)
จุดเด่นของการวัด backfat ได้แก่
- ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ ที่เห็นตัวเลขชัดเจน
- ลดข้อผิดพลาดของคน เช่น การประเมิน BCS
ในฝูงเดิมซ้ำๆจะเริ่มรู้สึกว่าหุ่นไม่แตกต่างกัน หรือ สายตาคนประเมินหุ่น BCS แต่ละคนประเมินให้คะแนนไม่เท่ากัน เป็นต้น
- สุกรสาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ได้เร็วขึ้น
- แม่หย่านมกลับสัดหลังหย่านมไวขึ้น
- แม่ผสมได้ลูกดกมากกว่า
- แม่สูญเสียน้ำหนักหลังหย่านมน้อยลง
- ลูกน้ำหนักหย่านมสูง
วิธีการวัด Backfat
นำเครื่องอัลตร้าซาวน์วัดที่ตำแหน่ง P2 (ตำแหน่งซี่โครงซี่สุดท้าย วัดจากแกนกลางลำตัวออกมา 6-8 เซนติเมตร)
โดยวัดทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อหาค่าเฉลี่ยสำหรับหนึ่งตัว (หน่วยที่ได้เป็น มิลลิเมตร)
การลดค่าอาหาร
เมื่อเราสามารถประเมินหุ่นของแม่พันธุ์ในแม่นยำขึ้น การปรับปริมาณการให้อาหารโดยเฉพาะระยะอุ้มท้อง สามารถกำหนดได้ดียิ่งขึ้น จะช่วยลดอาหารที่ให้เกินไปได้ ส่งผลให้ค่าอาหารต่อแม่ลดลง
นำเครื่องอัลตร้าซาวน์วัดที่ตำแหน่ง P2 (ตำแหน่งซี่โครงซี่สุดท้าย วัดจากแกนกลางลำตัวออกมา 6-8 เซนติเมตร)
โดยวัดทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อหาค่าเฉลี่ยสำหรับหนึ่งตัว (หน่วยที่ได้เป็น มิลลิเมตร)
การลดค่าอาหาร
เมื่อเราสามารถประเมินหุ่นของแม่พันธุ์ในแม่นยำขึ้น การปรับปริมาณการให้อาหารโดยเฉพาะระยะอุ้มท้อง สามารถกำหนดได้ดียิ่งขึ้น จะช่วยลดอาหารที่ให้เกินไปได้ ส่งผลให้ค่าอาหารต่อแม่ลดลง