Foot and Mouth Disease, FMD หรือโรคปากและเท้าเปื่อย ถือเป็นโรคประจำถิ่นในประเทศไทย โดยก่อโรคในสัตว์กีบคู่อย่าง โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และในสัตว์ป่าบางชนิด เช่น ช้าง ยีราฟ นอกจากนี้ยังสามารถก่อโรคในสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์กีบคู่ได้ เช่น เม่นแคระ หนูแกสบี้ เป็นต้น แม้จะเป็นโรคที่อัตราการตายต่ำ แต่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสูง
อาการและรอยโรค
- มีตุ่มใสบริเวณช่องปาก ตามกีบเท้า และเต้านม
- หากตุ่มใสแตกจะเกิดเป็นแผลหลุมและโน้มนำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ทำให้สัตว์เจ็บตามแผล กินน้อยลง ไม่อยากอาหาร ไม่อยากเคี้ยว และเจ็บเท้า เต้านมอักเสบ
- มีไข้ ซึม ตัวสั่น
- อาจทำให้แท้งในแม่ตั้งท้อง และลูกโค กระบือที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน มักพบกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Tiger heart) ส่งผลให้ลูกสัตว์มีอาการช็อคตายได้การติดต่อ
- สัตว์ที่ติดเชื้อจะมีการขับเชื้อ FMD ผ่านออกมาทางสิ่งคัดหลั่งและการขับถ่าย เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ โดยเชื้อสามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัสและการหายใจ
- เชื้อ FMD สามารถแพร่กระจายทางอากาศได้ไกลถึง 10 กิโลเมตร และสามารถก่อให้เกิดรอยโรคในสัตว์ได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง
โดยเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคคือ ไวรัสปากและเท้าเปื่อยทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ O, A, C, SAT 1, SAT 2, SAT 3 และ Asia 1 ระบาดในไทย 3 ชนิด ได้แก่ A O และ Asia 1 โดยเชื้อจะทำให้สัตว์แสดงอาการป่วยเหมือนกันแต่ไม่สามารถให้ภูมิคุ้มกันต่างชนิดกันได้
FMD ชนิด SAT2 เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดในทวีปแอฟริกาเป็นหลัก แต่ในปี 2566 เริ่มพบการระบาดในประเทศกลุ่มตะวันออกกลางหลายประเทศ และล่าสุดพบรายงานการเกิดโรคในตุรกี ซึ่งเป็นครั้งแรกที่พบการระบาดข้ามมายังทวีปเอเชีย กรมปศุสัตว์จึงประกาศเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่นี้หวั่นซ้ำรอยโรคลัมปี สกิน และที่สำคัญ วัคซีน FMD ที่ไทยไม่ครอบคลุมเชื้อชนิดนี้ หากมีการระบาดอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์จะเสียหายเป็นอย่างมาก
การป้องกันและรักษา
- เข้มงวดระบบการป้องกันโรค ฆ่าเชื้อทำความสะอาดฟาร์มเป็นประจำ
- เสริมภูมิคุ้มกันให้ตัวสัตว์ กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วย Vicocid ผลิตภัณฑ์จากกรด Alpha-Monolaurin
- เตรียมพร้อมรับมือหากพบสัตว์มีอาการ ให้สารเสริมและวิตามิน บำรุงสุขภาพสัตว์ เมื่อเกิดแผลใช้ Zapheal spray ในการฆ่าเชื้อและกระตุ้นการหายของบาดแผล ป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน