ตับเป็นอวัยวะที่สำคัญในสัตว์ปีก มีหน้าที่หลากหลาย ประกอบไปด้วย การสร้างและสลาย (Metabolism)ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ กำจัดของเสียและพิษต่างๆในร่างกาย เป็นแหล่งสะสมหลักของวิตามินละลายในไขมัน (A D E K) วิตามิน B12 ไกลโคเจน และแร่ธาตุบางชนิด (Fe และ Cu) กระตุ้นการทำงานของวิตามิน D ทำลายเม็ดเลือดแดงหมดอายุ และเชื้อโรคที่เข้ามาทางหลอดเลือดตับ
1. Lipid metabolism ในไก่ให้ไข่ ตับเป็นตัวหลักในการสร้างไขมัน โดยสร้างมาจาก 3 ช่องทางหลักคือจากไขมันในอาหาร ไขมันสะสมในร่างกาย และไขมันที่ได้จากการเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตเป็นไขมันอีกที โดยในช่วงการให้ผลผลิต รังไข่จะมีการหลั่งฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน กระตุ้นตับสังเคราะห์Lipoprotein ที่ชื่อว่า Vitellogenin ซึ่งเป็นส่วนประกอบในไข่แดง 24% และไขมันอื่นๆรวม 60% ของน้ำหนักไข่แดง
2. Carbohydrate metabolism ตับและตับอ่อน ทำหน้าที่ร่วมกันในการรักษาระดับกลูโคสในเลือด ถ้าความเข้มข้นของกลูโคสในเลือดสูง ตับจะเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนและไตรกลีเซอไรด์เพื่อเป็นพลังงานสะสมไว้รอดึงออกไปใช้ (ส่วนใหญ่สะสมในตับ สะสมในกล้ามเนื้อเล็กน้อย) แต่ถ้าระดับกลูโคสในเลือดต่ำ ตับจะสลายไกลโคเจนกลับไปเป็นกลูโคสหลั่งกลับเข้าไปในระบบเลือด หรือถ้าเป็นช่วงที่ขาดกลูโคสมากๆ เช่นกินไม่ได้ ป่วย ตับจะเริ่มเปลี่ยนกรดอมิโน ไขมัน กรดแลคติค ไปเป็นกลูโคส ส่งผลให้ไขมันสะสมลดลง การสร้างไขมันลดลง ส่งไปสร้างไข่แดงได้ลดลง หรือไม่ให้ไข่
3. Protein metabolism
– การสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย 11% เกิดขึ้นที่ตับ โปรตีนอาหารเมื่อผ่านการย่อยได้เป็น small peptides และ กรดอมิโนจะถูกดูดซึมผ่านเซลล์ลำไส้เข้าตับผ่านหลอดเลือด Portal vain จากนั้นจึงส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่นๆ ถ้ากรดอมิโนมีมากเกินไปและไม่ได้นำไปใช้จะสลายโดยตับ โดยดึงหมู่อะมิโนออกจากพันธะ เปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นแอมโนเนีย ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์ปีกตับจึงเปลี่ยนรูปแอมโมเนียไปเป็นกรดยูริคแล้วขับออกทางไต หากตับมีปัญหาจะไม่สามารถขับแอมโนเนียออกไปจากร่างกายได้ เกิดเป็นพิษสะสมในร่างกาย ขึ้นสมองทำให้เกิดอาการทางประสาทตามมา เช่น ชัก กระตุก คอบิดคอแหงน
– ตับยังมีหน้าที่สร้างโปรตีนในเลือด เช่น albumin prothrombin fibrinogen และ globulin โดย Albumin มีหน้าที่ในการรักษาแรงดันในหลอดเลือด หากมีน้อยจะทำให้ความดันลือดสูง น้ำในเลือดออกออกมานอกหลอดเลือดได้ เกิดอาการท้องมาน บวมน้ำ Globulin เป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับเม็ดเลือดขาว ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ถ้ามีมากอาจเป็นตัวบ่งบอกว่าร่างกายกำลังพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอมอยู่
4. Vitamin and Mineral metabolism เป็นแหล่งสะสมหลักของวิตามินละลายในไขมัน (A D E K) วิตามิน B12 ไกลโคเจน และแร่ธาตุบางชนิด (Fe และ Cu) และช่วยกระตุ้นการทำงานของวิตามิน D
5. กำจัดของเสียและพิษต่างๆในร่างกาย นอกจากขับแอมโมเนียที่กล่าวไปข้างต้น ตับยังกำจัดของเสียต่างๆเช่น เซลล์เม็ดเลือดหมดอายุ สารปนเปื้อนต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็ง ยาปฏิชีวนะ ยาต่างๆ
หากตับได้รับความเสียหายโดยเฉพาะโรคตับอักเสบ Inclusion body hepatitis, IBH ในไก่ที่ทำให้ตับซีด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อได้จากไก่ที่เลี้ยงร่วมกันและจากแม่สู่ลูกผ่านทางไข่ พ่อแม่พันธุ์ที่ป่วยจะให้ผลผลิตไข่ลดลง ไขที่เข้าฟักตายโคมสูง การฟักออกลดลง ลูกไก่ที่ได้รับเชื้อจากพ่อแม่จะเริ่มแสดงอาการป่วยและตายที่อายุประมาณ2-3 สัปดาห์ บางเคสพบได้ตั้งแต่ 7 วัน ร้อยละการตายประมาณ 10-15% หากมีติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตัวเลขการสูญเสียจะมากขึ้น หรือความผิดปกติที่เกิดจากการจัดการ เช่น Fatty liver disease ที่เกิดจากสัดส่วนไขมันในอาหารมากเกินไป จะส่งผลไขมันแทรกในเนื้อตับจำนวน โดยเห็นเป็นลักษณะตับซีดเหลือง เปราะแตกง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายเป็นทอดๆ โดย
- การสร้างไขมันในไข่ลดลง ไข่แดงลดลงไปจนถึงไม่สร้างไข่
- กลูโคสต่ำ ร่างกายขาดพลังงาน ไก่อ่อนแรง
- ร่างกายขาดกรดอะมิโน โปรตีนในเลือดเสียสมดุล การทำงานของร่างกายผิดปกติ
- ร่างกายกำจัดของเสียไม่ได้ พิษขึ้นสมอง มีอาการทางระบบประสาท และตายในที่สุด
ทั้งหมดทั้งมวลนี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อตัวสัตว์แล้ว ยังส่งผลให้ผู้เลี้ยงมีรายได้ที่ลดลงจากผลผลิตที่ลดลงอีกด้วย
จึงควรมีการบำรุงตับอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาการทำงานของร่างกายให้ปกติและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น โดย ZETTA HEPA C ผลิตภัณฑ์บำรุงตับจากสมุนไพรหลายชนิด ช่วยบำรุงตับ ลดการอักเสบและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อไก่ป่วยด้วย IBH ซึ่งไม่สามารถให้ยาได้ นอกจากนี้การเสริมวิตามินรวมด้วย ZETTAVIT 2046 SOLUTION ยังเป็นการช่วยให้สัตว์ฟื้นฟูจากอาการป่วยได้เร็วขึ้นได้อีกด้วย
ผลผลิตที่ดีจะมาจากสุขภาพที่ดี ตับจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ