โรคสุกรในหน้าฝน

โรคปอดที่ต้องระวังในหน้าฝน

ฤดูฝนของประเทศไทย จะเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม – ช่วงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศแปรปรวนสูง มีทั้งอากาศร้อน ชื้น และหนาว ทำให้หมูปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด ภูมิคุ้มกันตกและป่วยได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหนึ่งในโรคปอดที่มักพบได้ในหน้าฝนคือ โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อ Actinobacillus Pleuropneumoniae หรือที่เราเรียกกันว่า “โรค APP” เพราะฉะนั้นมาทำความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้นกันดีกว่า

โรคปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ หรือ APP เกิดจากเชื้อ : Actinobacillus Pleuropneumoniae
อาการของโรค APP : อาการเริ่มต้นมักจะพบสุกรหอบ ไอ หายใจกระแทก ในบางรายอาจจะพบสุกรนั่งด้วยสองขาหลัง หรือเรียกกันว่าการ “นั่งหมา” และตัวที่อาการหนักจะพบว่ามีไข้สูง ซึม ไม่กินอาหาร ภายในฝูงจะมีตัวที่ติดเชื้อหนักอาจจะเกิดการตายเฉียบพลัน เลือดเป็นฟองออกจมูกได้ ส่วนตัวที่ติดเชื้อเรื้อรัง มักจะพบว่ามีอาการโตช้า แคระแกร็น ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเลี้ยง
การป้องกันโรค APP : การป้องกันโรคที่ดีสุดในปัจจุบันคือระบบ Biosecurity คือการคัดกรองโรคสุกรก่อนเข้าฝูง ใช้ยาฆ่าเชื้อตามจุดต่างๆภายในฟาร์ม แยกคน แยกอุปกรณ์ที่ใช้ในการเลี้ยง ส่วนการลดความเครียดในสุกรเช่น การควบคุมการระบายแก๊สแอมโมเนีย (NH3) การลดความหนาแน่นในการเลี้ยง การล้างพักคอกให้เหมาะสม จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและลดการติดเชื้อได้เช่นกัน
การทำวัคซีนโรค APP : ปัจจุบันมีวัคซีนสำหรับโรค APP โดยเฉพาะ หรือวัคซีนรวมโรคปอด เช่น Mycoplasma Pasturella ซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันสุกรภายในฝูง ช่วงลดอาการ และลดการแพร่กระจายของเชื้อภายในฝูงได้ ทำให้ประสิทธิภาพการผลิตในฟาร์มสูงขึ้น โดยวัคซีนเหล่านี้มักจะทำให้สุกรสาว เตรียมก่อนเข้าฝูง และสุกรเล็ก 2 เข็ม ห่างกัน 1-2 สัปดาห์
การรักษาโรค APP : โรค APP เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ทำให้สามารถใช้ยาปฎิชีวนะ (ABO) ในการรักษาได้ โดยกลุ่มยาที่สามารถใช้ได้ เช่น กลุ่ม Penicillin (Amoxicillin, Penicillin, Ampicillin), กลุ่ม Cephalosporins (Ceftiofur), กลุ่ม Fluoroquinolone (Enrofloxacin, Marbofloxacin), กลุ่ม Plueromutilin (Tiamulin) โดยมักจะให้ผสมในน้ำ หรือ อาหารช่วงที่เกิดการระบาด แต่ในสุกรที่อาการหนัก ไม่สามารถลุกขึ้นมากินน้ำกินอาหารได้ แนะนำให้ทำการฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่คอ (IM) เพื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายได้ไวที่สุด
กลุ่มสุกรที่มักพบ : สุกรอนุบาลช่วงท้าย (7-8 สัปดาห์) ไปจนถึง สุกรขุนช่วงท้ายช่วงจับขาย

อาการของโรค APP

การป้องกัน

วิธีการรักษา

การรักษากลุ่มยาปฏิชีวนะที่สามารถใช้รักษาโรค APP ได้แก่
กรณีที่สุกรลุกกินน้ำกินอาหารไม่ได้ แนะนำให้ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (IM) ส่วนในฝูงแนะนำให้ผสมยาในอาหารเพื่อป้องกันในช่วงที่มีการระบาดของโรค
ผู้ประพันธ์บทความ
profile

บทความ อื่นๆ