เราสามารถตรวจสอบสารพิษจากเชื้อราภายในฟาร์มได้อย่างไร?

สาระน่ารู้

การตรวจสอบสารพิษจากเชื้อราในฟาร์มเป็นประจำนั้น คือสิ่งสำคัญที่ควรทำเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสุขภาพสัตว์และผลผลิต โดยสามารถเริ่มต้นง่ายๆด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้

1.การป้องกันการเกิดเชื้อราเบื้องต้น

● การสำรวจพื้นที่: ตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บธัญพืช วัตถุดิบอาหารสัตว์ และสภาพแวดล้อมในฟาร์ม ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม ควรวางบนชั้นพาเลท ไม่วางกองกับพื้น ไม่ควรกองวัตถุดิบบริเวณที่มีความชื้นสูง ใกล้แหล่งน้ำ หรือติดกับผนังกำแพง

● การตรวจสอบกายภาพวัตถุดิบเบื้องต้น: ควรเลือกเก็บวัตถุดิบที่ความชื้นต่ำ ตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของวัตถุดิบ ลักษณะเมล็ด สี กลิ่น ก่อนรับเข้าเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดเชื้อรา อันเป็นที่มาของสารพิษจากเชื้อรา

2.การเก็บตัวอย่างและการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

● เก็บตัวอย่างวัตถุดิบอาหารสัตว์ : ควรสุ่มเก็บตัวอย่างวัตถุดิบจากพื้นที่ต้องสงสัยว่ามีเชื้อรา และจำนวนตัวอย่างให้เพียงพอกับปริมาณวัตถุดิบ จากนั้นส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษจากเชื้อรา

● การตรวจวัดสารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxins): ใช้การทดสอบเฉพาะทางเพื่อวัดระดับสารพิษจากเชื้อราอยู่เป็นประจำ เช่น การใช้ชุดทดสอบ ELISA ภายในฟาร์ม ควบคู่กับการส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการด้วยวิธี HPLC (High-Performance Liquid Chromatography) อย่างน้อย 6 เดือน/ครั้ง

3.การเฝ้าระวังและการจัดการ

● การอบรมและให้ความรู้: ให้ความรู้แก่คนในฟาร์มเกี่ยวกับการตรวจสอบและป้องกันเชื้อรา

● การจัดการสิ่งแวดล้อม: ดูแลสภาพแวดล้อมในฟาร์มให้สะอาดและแห้ง เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา

● การใช้ผลิตภัณฑ์: ใช้ผลิตภัณฑ์ในการควบคุมเชื้อรา และลดความเสี่ยงสารพิษจากเชื้อราที่จะเข้ามาทำอันตรายต่อสุขภาพสัตว์ และส่งผลต่อผลผลิต

การตรวจสอบสารพิษจากเชื้อราในฟาร์มเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความรู้และความสามารถในหลายด้าน การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผู้ประพันธ์บทความ
Somruthai

บทความ อื่นๆ